แจกเทคนิคทำข้อสอบการเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์ให้ได้คะแนนดี ! | Applied Physics
  กลับสู่หน้าบทความ

สรุปเนื้อหาการเปลี่ยนหน่วยวิชาฟิสิกส์ พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนน

 28 สิงหาคม 2567 00:14:28

เชื่อว่าในวิชาฟิสิกส์ หนึ่งในเนื้อหาที่น้อง ๆ จะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษ ก็คือเรื่องการเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์ เนื่องจากเป็นหัวข้อพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการนำไปต่อยอดในหัวข้ออื่น ๆ บทความนี้จึงอยากจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับการเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์ว่าคืออะไร ? และถ้าอยากทำข้อสอบในเรื่องนี้ให้ได้คะแนนดี จะมีเทคนิคใดบ้างที่สามารถนำไปปรับใช้ พี่ ๆ ติวเตอร์ฟิสิกส์จาก Applied physics ขอพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ !

 Table of Content:


นักเรียนม.ปลายกำลังเรียนเรื่องการเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์

การเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์ คืออะไร ?

การเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์ คือการแปลงค่าของปริมาณทางฟิสิกส์จากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่ง โดยที่ปริมาณทางฟิสิกส์ยังคงเท่าเดิม ตัวอย่างเช่น

  • การแปลงค่าความยาว 10 เมตร เป็นเซนติเมตร
  • 10 เมตร = 1000 เซนติเมตร

ในทางฟิสิกส์ มีระบบหน่วยที่ใช้กันทั่วไปอยู่หลายระบบ เช่น ระบบเอสไอ (SI) ระบบเมตริก ระบบอังกฤษ ฯลฯ แต่ ปัจจุบันนิยมใช้หน่วยในระบบเอสไอ (SI)

ทำความรู้จักระบบเอสไอ (SI)

ระบบเอสไอ (SI) คือระบบมาตรฐานสำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้กันทั่วโลก ประกอบด้วยหน่วยพื้นฐาน 7 หน่วย และหน่วยอนุพันธ์อีกมากมาย ซึ่งหลัก ๆ ที่น้อง ๆ ควรทำความเข้าใจก็คือหน่วยพื้นฐานและคำอุปสรรคหรือที่เรียกว่าคำนำหน้าหน่วย (Prefixes)

1. หน่วยพื้นฐานทั้ง 7 หน่วย

ปริมาณที่ใช้วัด

หน่วย

สัญลักษณ์

ความยาว

เมตร (Meter)

m

มวล

กิโลกรัม (Kilogramme)

kg

เวลา

วินาที (Second)

s

กระแสไฟฟ้า

แอมแปร์ (Ampere)

A

อุณหภูมิ

เคลวิน (Kelvin)

K

ความเข้มของการส่องสว่าง

แคนเดลา (Candela)

cd

ปริมาณของสาร

โมล (Mole)

mol

2.คำอุปสรรคทางฟิสิกส์ หรือที่เรียกว่าคำนำหน้าหน่วย (Prefixes) 

ในระบบ SI ยังมีการใช้คำอุปสรรคหรือคำนำหน้าหน่วย (Prefixes) เพื่อขยายหรือหดค่าของหน่วยวัด ซึ่งในวิชาฟิสิกส์ โดยทั่วไปจะเน้นที่การเปลี่ยนคำนำหน้าหน่วย ซึ่งคำนำหน้าหน่วยที่พบบ่อย ได้แก่

 

คำหน้าหน่วย

สัญลักษณ์

ตัวคูณที่เทียบเท่า

คำนำหน้าหน่วย

สัญลักษณ์

ตัวคูณที่เทียบเท่า

เดซิ (deci)

d

10-1

เดคะ (deka)

da

101

เซนติ (centi)

c

10-2

เฮกโต (hecto)

H

102

มิลลิ (milli)

m

10-3

กิโล (kilo)

k

103

ไมโคร (micro)

 

10-6

เมกะ (mega)

M

106

นาโน (nano)

n

10-9

จิกะ (giga)

G

109

พิโค (pico)

p

10-12

เทระ (tera)

T

1012

เฟมโต (femto)

f

10-15

เพตะ (peta )

P

1015

อัตโต (atto)

a

10-18

เอกซะ (exa)

E

1018

เซปโต (zepto)

z

10-21

เซตตะ (zetta)

Z

1021

ยอกโต (yocto)

y

10-24

ยอตตะ (yotta)

Y

1024

 

หลักการเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์   

สำหรับน้อง ๆ ที่สงสัยว่าแล้วถ้าเจอโจทย์เรื่องการเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์ หลักการในการทำควรต้องทำอย่างไร ซึ่งพี่ ๆ ได้สรุปหลักการง่าย ๆ มาให้แล้วด้านล่างนี้เลย 

  1. ถ้าเปลี่ยนจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยเล็กคูณด้วย 10x (10 กำลังเป็นบวก)
  2. ถ้าเปลี่ยนจากหน่วยเล็กเป็นหน่วยใหญ่คูณด้วย 10-x ( 10 กำลังเป็นลบ)
  3. x คือ ระยะห่างของเลขยกกำลังของหน่วยนั้น ๆ เช่น ถ้าต้องการเปลี่ยนหน่วยระหว่างหน่วยกิโลกับไมโคร x = 3-(-6)= 9 (กำลังของหน่วยใหญ่ลบด้วยกำลังของหน่วยเล็ก)
  4. ถ้าจะเปลี่ยนหน่วยกิโลให้เป็นหน่วยไมโคร = (ใหญ่ -----> เล็ก) คูณด้วย 109   แต่ถ้าจะเปลี่ยนหน่วยไมโครให้เป็นหน่วยกิโล = (เล็ก -----> ใหญ่) คูณด้วย 10-9

ลองทำโจทย์การเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์  

จากหลักการเปลี่ยนหน่วยข้างต้น มาลองแทนค่าสูตรในตัวอย่างโจทย์ด้านล่างนี้

  • โจทย์  --->  จงเปลี่ยน 1.5 km ให้เป็น m
  • หลักการคิด ---> เปลี่ยน 1.5 km เป็น m เป็นการเปลี่ยนจากหน่วยใหญ่ไปหน่วยเล็ก คูณด้วย 10x

x = 3 – (–6) = 9
ดังนั้น 1.5 km = 1.5 x 109 m

 

การเปลี่ยนหน่วยวิชาฟิสิกส์ : สรุปเทคนิคช่วยเพิ่มคะแนนสอบที่น้อง ๆ ควรรู้

การเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์เป็นทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับน้อง ๆ ทุกคน ทั้งนี้ การฝึกฝนเทคนิคการเปลี่ยนหน่วยอย่างถูกต้องและรวดเร็ว จะช่วยให้สามารถทำข้อสอบฟิสิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

1. เข้าใจความหมายของหน่วย

หน่วยวัดต่าง ๆ แสดงถึงปริมาณทางฟิสิกส์ที่แตกต่างกัน การทำความเข้าใจหน่วยเหล่านี้จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถวิเคราะห์โจทย์และเลือกใช้เทคนิคการแปลงหน่วยที่ถูกต้องได้

2. วิเคราะห์โจทย์  

น้อง ๆ ต้องไม่ลืมอ่านโจทย์อย่างละเอียด ทั้งปริมาณที่ต้องการแปลง หน่วยเริ่มต้น และหน่วยเป้าหมาย การวิเคราะห์โจทย์อย่างถี่ถ้วนจะช่วยให้มีข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วนสำหรับการแปลงหน่วย และลดโอกาสในการเข้าใจผิดหรือตอบคำถามไม่ตรงประเด็นได้ 

3. แทนค่าสูตรอย่างถูกต้อง

ลองนำหลักการเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์ที่แนะนำไปในหัวข้อก่อนหน้ามาปรับใช้ และอาจประยุกต์ใช้กับวิธีการคูณและหารอื่น ๆ ก็จะช่วยให้เปลี่ยนหน่วยได้เร็วยิ่งขึ้น

4. ตรวจสอบคำตอบ

หลังจากคำนวณค่าที่ต้องการแล้ว อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าคำตอบมีหน่วยที่ถูกต้องและสมเหตุสมผล การตรวจสอบคำตอบจะช่วยให้มั่นใจในความถูกต้องของการคำนวณ และลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้

5. ฝึกฝนทำข้อสอบอย่างสม่ำเสมอ

การฝึกฝนทำโจทย์เปลี่ยนหน่วยอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้น้อง ๆ คุ้นเคยกับเทคนิค และสามารถทำโจทย์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ ทักษะในการแก้โจทย์ก็จะยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น อย่าลืมหมั่นฝึกฝนและทบทวนบทเรียนอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความแม่นยำในการทำข้อสอบ

นักเรียนกำลังฝึกทำโจทย์เรื่องการเปลี่ยนหน่วยในวิชาฟิสิกส์

การเปลี่ยนหน่วยทางฟิสิกส์เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนวิชาฟิสิกส์ หากเข้าใจและฝึกฝนอย่างถูกวิธี จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถแก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากน้อง ๆ คนไหนอยากรู้ทริคเรื่องการเปลี่ยนหน่วยเพิ่มเติม เลือกคอร์ส AP33 Pack ติวฟิสิกส์กลศาสตร์ 1 จาก Applied physics ที่น้อง ๆ จะได้เรียนกับติวเตอร์ฟิสิกส์อย่างอ.เผ่า (นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์) โดยในคอร์สนี้ได้รวบรวมทั้งเรื่องการวัด การเปลี่ยนหน่วย การเคลื่อนที่แนวเส้นตรง มวล แรง กฎนิวตัน และสมดุลกล หรือใครจะเลือกเรียนคอร์ส AP35 Pack Extra ที่รวบรวมทั้งกลศาสตร์ 1 และ 2 เอาไว้ในคอร์สเดียวด้วย ก็รับรองว่า การเรียนฟิสิกส์ของน้อง ๆ จะสนุกและได้คะแนนดีขึ้นแน่นอน สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอร์สเรียน โทรเลยที่ 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869 และ 085-4925599 หรือแอดไลน์ @appliedphysics (มี @ ด้วย)
loading
loading
เพิ่มในตะกร้าแล้ว
×
ชื่อคอร์ส
ราคา บาท
Line OA @appliedphysics