หาคำตอบ! อยากเรียนวิศวะฯ ต้องสอบอะไรบ้าง ฉบับ TCAS67
เตรียมพร้อมรับสนามสอบ TCAS67 สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะสาขาวิชาใดก็ตาม ในบทความนี้น้อง ๆ ที่อยากเรียนวิศวะฯ จะได้รู้ว่าจะต้องสอบอะไรบ้างในสนาม TCAS67 จะได้เตรียมตัวลงคอร์สติว TPAT3 เพื่อเสริมความมั่นใจให้มากยิ่งขึ้น แต่หากน้องคนไหนกำลังตัดสินใจว่าควรเลือกเรียนในสายวิศวะฯ ดีหรือไม่ วันนี้พี่ ๆ ยังจะมาบอกต่อสาขาน่าสนใจ ที่ในตลาดแรงงานเป็นที่ต้องการอย่างมาก หากพร้อมแล้วตามไปดูกันได้เลย
Table of Content
- ทำไมคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงได้รับความนิยมมาก
- คณะวิศวกรรมศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร
- อยากเรียนวิศวะฯ ต้องสอบอะไรบ้างในสนาม TCAS67
- 3 สาขาวิชาในสายงานวิศวะที่กำลังมาแรง
ทำไมคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงได้รับความนิยมมาก?
ในปัจจุบันโลกของเรากำลังพัฒนา และก้าวหน้าไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอันทันสมัยอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมเป็นที่ต้องการอย่างมาก ทำให้ตลาดแรงงาน ผู้ที่เรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงมีอนาคตที่สดใส เพราะมีงานรออยู่มากมาย อีกทั้งวิศวกรยังเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง ค่าตอบแทนสูง และมีโอกาสก้าวหน้าในสายงานอีกด้วย แต่ในการเรียนวิศวะฯ ก็มีอยู่หลากหลายสาขาให้เลือกเช่นกัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร?
คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนา และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ โดยการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์เข้าด้วยกัน โดยหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์จะเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มักมีการแบ่งสาขาวิชาตามอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น
- วิศวกรรมโยธา
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมไฟฟ้า
- วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- วิศวกรรมเคมี
- วิศวกรรมอุตสาหการ
- วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- วิศวกรรมชีวการแพทย์
และอาจมีสาขาอื่น ๆ อีกหลายแขนง ขึ้นอยู่กับการเปิดสอนของแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น วิศวกรรมดนตรี วิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมการบิน วิศวกรรมเรือ ฯลฯ
อยากเรียนวิศวะฯ ต้องสอบอะไรบ้างในสนาม TCAS67
ได้รู้จักกับคณะวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้นกันไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูกันว่า หากน้อง ๆ อยากเรียนวิศวะ จะต้องสอบอะไรบ้างในระบบ TCAS67 ที่กำลังจะมาถึง
TGAT (ความถนัดทั่วไป)
TGAT เป็นวิชาที่ใช้ยื่นสมัครได้แทบทุกคณะและทุกสาขา ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่แต่ละมหาวิทยาลัยเลือกใช้ โดยข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
- การสื่อสารภาษาอังกฤษ
- การคิดอย่างมีเหตุผล
- สมรรถนะการทำงาน
TPAT3 (ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์)
TPAT3 เป็นวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมศาสตร์ เน้นวัดความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และความคิดเชิงวิศวกรรมศาสตร์ มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งจะแบ่งข้อสอบออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ
ส่วนที่ 1 : การทดสอบความถนัด (Aptitude Test) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
มีข้อสอบทั้งหมด 45 ข้อ คิดเป็น 60 คะแนน ประกอบด้วย
- ด้านตัวเลข (Numerical Reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
- ด้านมิติสัมพันธ์ (Diagrammatic Reasoning) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
- ด้านเชิงกล (Mechanical Reasoning) และด้านฟิสิกส์ (Physics Aptitude Test) (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
ส่วนที่ 2: การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
มีข้อสอบทั้งหมด 25 ข้อ 40 คะแนน ประกอบด้วย
- ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
- ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 10 ข้อรวม 20 คะแนน)
A-Level (วิชาสามัญ)
สำหรับวิชาที่ต้องเลือกสอบใน A-Level นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การคัดเลือกของแต่ละสาขาวิชาหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งโดยส่วนมากจะใช้คะแนน A-Level จากวิชาเหล่านี้
- ฟิสิกส์
- เคมี
- ชีววิทยา
- คณิตศาสตร์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม)
- ภาษาอังกฤษ
โดยน้อง ๆ สามารถเช็กเกณฑ์การคัดเลือก และคะแนนสอบที่ต้องใช้ได้จากเว็บไซต์ https://www.mytcas.com/
3 สาขาวิชาในสายงานวิศวะที่กำลังมาแรง!
1. สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
เนื่องจากซอฟต์แวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต้องการวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ ทำให้สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นที่สนใจของหลาย ๆ คน
2. สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ได้รับความสนใจมากเช่นเดียวกันกับสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เนื่องจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์มีความก้าวหน้ามาก ตลาดแรงงานจึงมีความต้องการวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญมาพัฒนาและส่งเสริมใช้งานหุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์
3. สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งสาขาที่จะเป็นที่ต้องการมากในตลาด เนื่องจากเทคโนโลยีชีวการแพทย์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุปกรณ์และวิธีการรักษาทางการแพทย์ใหม่ ๆ จึงจำเป็นต้องมีวิศวกรชีวการแพทย์มาช่วยพัฒนาและใช้งานอุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่างเช่น เครื่องมือผ่าตัด อุปกรณ์ช่วยชีวิต และอุปกรณ์วินิจฉัยโรคต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่าอาชีพวิศวกร เป็นวิชาชีพที่เป็นที่ต้องการในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ทำให้มีอัตราการแข่งขันที่สูงมากเช่นกัน ดังนั้นน้อง ๆ คนไหนที่สนใจอยากเรียนวิศวะ สามารถมาเตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนต่อได้ที่ Applied Physics เรามีคอร์สติว TPAT3 เนื้อหาเข้มข้น ติวอย่างเข้าใจ ที่สอนโดยติวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การสอนยาวนาน เนื้อหาแน่น ครบ แถมมีทริกและเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่าย เสริมความมั่นใจให้น้อง ๆ ไปสอบได้อย่างมั่นใจมากขึ้น สามารถเลือกเรียนได้ทั้งที่สถาบันหรือทางออนไลน์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869 และ 085-4925599 หรือ แอดไลน์ @appliedphysics (มี @ ด้วย)
ข้อมูลอ้างอิง:
- โครงสร้างข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบ TPAT3 30 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2567 จาก https://www.mytcas.com/blueprint/tpat3-30/