สัญลักษณ์ทางฟิสิกส์ที่พบบ่อย ม.4 รู้ไว้ เก็ทสูตรไวกว่าเพื่อน
ในวิชาฟิสิกส์นั้น น้อง ๆ จะได้เจอกับสัญลักษณ์หลายอย่างด้วยกัน ซึ่งบางตัวอาจมีหน้าตา และชื่อเรียกแปลก ๆ เพราะมาจากรากคำของตัวอักษรกรีก โดยน้อง ๆ ที่กำลังจะเริ่มเรียนเนื้อหาฟิสิกส์ระดับชั้น ม.4 ควรทำความรู้จักให้เกิดความคุ้นเคยเอาไว้ ดังนั้นบทความนี้จึงได้ทำการรวบรวมสัญลักษณ์ทางฟิสิกส์ที่พบบ่อย ทั้งที่เป็นตัวย่ออักษรภาษาอังกฤษ และอักษรกรีกโบราณมาแนะนำให้รู้จัก พร้อมทั้งความหมายและชื่อเรียก เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจถึงเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ได้ไวขึ้น
Table of Content:
- รวมสัญลักษณ์ทางฟิสิกส์ที่พบบ่อย
- สัญลักษณ์ทางฟิสิกส์จากอักษรกรีกโบราณ
- ทำไมจึงใช้ตัวอักษรกรีกโบราณในวิชาฟิสิกส์
- ทำไมต้องรู้จักสัญลักษณ์ และหน่วยที่พบบ่อยในวิชาฟิสิกส์ ?

รวมสัญลักษณ์ทางฟิสิกส์ที่พบบ่อย
ตัวอักษร |
ความหมาย |
หน่วยวัด |
F |
แรง |
นิวตัน (N) |
W |
งาน |
จูล (J) |
M |
โมเมนต์ |
นิวตัน-เมตร (N·m) |
m |
มวล |
กิโลกรัม (kg) |
T |
แรงตึงเชือก |
นิวตัน (N) |
t |
เวลา |
วินาที (s) |
v |
อัตราเร็ว |
เมตรต่อวินาที (m/s) |
a |
อัตราเร่ง |
เมตรต่อวินาทีกำลังสอง (m/s²) |
p |
โมเมนตัม |
กิโลกรัม เมตรต่อวินาที (kg·m/s) |
I |
การดล |
นิวตัน-วินาที (N·s) |
Ek |
พลังงานจลน์ |
จูล (J) |
Ep |
พลังงานศักย์โน้มถ่วง |
จูล (J) |
Es |
พลังงานศักย์ยืดหยุ่น |
จูล (J) |
h |
ความสูง |
เมตร (m) |
g |
ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง |
เมตรต่อวินาทีกำลังสอง (m/s²) |
f |
แรงเสียดทาน |
นิวตัน (N) |
µ |
สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน |
(ไม่มีหน่วย) |
สัญลักษณ์ทางฟิสิกส์จากอักษรกรีกโบราณ
ตัวอักษรใหญ่ |
ตัวอักษรเล็ก |
ชื่ออังกฤษ |
ชื่อไทย (คำอ่าน) |
Α |
α |
alpha |
แอลฟา |
B |
β |
beta |
บีตา |
Γ |
γ |
gamma |
แกมมา |
Δ |
δ |
delta |
เดลตา |
E |
ε |
epsilon |
เอปไซลอน |
Z |
ζ |
zeta |
ซีตา |
H |
η |
eta |
อีตา |
Θ |
θ |
theta |
ทีตา |
I |
ι |
iota |
ไอโอตา |
K |
κ |
kappa |
แคปปา |
Λ |
λ |
lambda |
แลมบ์ดา |
M |
μ |
mu |
มิว |
N |
ν |
nu |
นิว |
Ξ |
ξ |
xi |
ไซ |
O |
ο |
omicron |
โอไมครอน |
Π |
π |
pi |
พาย |
Ρ |
ρ |
rho |
โร |
Σ |
σ |
sigma |
ซิกมา |
Τ |
τ |
tau |
เทา |
Υ |
υ |
upsilon |
อิปไซลอน |
Φ |
φ |
phi |
ฟาย,ฟี |
Χ |
χ |
chi |
ไค |
Ψ |
ψ |
psi |
ซาย |
Ω |
ω |
omega |
โอเมกา |
Fun Fact : ทำไมจึงใช้ตัวอักษรกรีกโบราณในวิชาฟิสิกส์
ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากวิชาฟิสิกส์มีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโบราณ โดยนักฟิสิกส์ชาวกรีกได้วางรากฐานความรู้ทางฟิสิกส์เอาไว้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่าทำไมจึงใช้ตัวอักษรกรีกในการเขียนสมการและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทางฟิสิกส์
ความเหมาะสม
เนื่องจากตัวอักษรกรีกมีรูปร่าง และสัญลักษณ์ที่แตกต่างจากตัวอักษรละติน หรือตัวอักษรภาษาอังกฤษทั่วไป ทำให้เหมาะสมกับการใช้แทนค่าทางฟิสิกส์ต่าง ๆ เพราะช่วยลดความสับสนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อใช่ร่วมกับภาษาอังกฤษได้ดี และทำให้สมการทางฟิสิกส์มีความเป็นสากล สามารถเข้าใจร่วมกันได้ทั่วโลก
ทำไมต้องรู้จักสัญลักษณ์ และหน่วยที่พบบ่อยในวิชาฟิสิกส์ ?
ทำความเข้าใจสมการและทฤษฎีต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
การรู้จักสัญลักษณ์และหน่วยต่าง ๆ ในฟิสิกส์ช่วยให้เข้าใจสมการและทฤษฎีได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นตัวแทนของปริมาณทางฟิสิกส์ที่สำคัญ และการเข้าใจความหมายจะช่วยให้จดจำ และนำสูตร นำสมการต่าง ๆ ไปใช้ได้ถูกต้องมากขึ้น
ช่วยในการคำนวณและประยุกต์ใช้สมการได้อย่างถูกต้อง
การรู้จักหน่วยของปริมาณต่าง ๆ ช่วยให้สามารถคำนวณและประยุกต์ใช้สมการได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากการคำนวณสมการทางฟิสิกส์จะต้องระบุหน่วยให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มีหน่วยที่สมเหตุสมผล
ช่วยให้เรียนได้เข้าใจเร็วขึ้นเมื่อเจอสูตรใหม่ ๆ
เมื่อคุ้นเคยกับสัญลักษณ์และหน่วยต่าง ๆ แล้ว ก็จะช่วยให้น้อง ๆ สามารถสร้างความเข้าใจได้เร็วขึ้นเมื่อต้องเจอกับสูตรใหม่ ๆ เนื่องจากไม่ต้องสับสนกับความหมายของสัญลักษณ์นั้น ๆ และสามารถเข้าใจองค์ประกอบของสมการได้ทันที