สรุปเนื้อหา ! งานและพลังงานในฟิสิกส์ ม.4 พร้อมสูตรคำนวณ
งานและพลังงาน เป็นหัวข้อพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับการเรียนวิชาฟิสิกส์ของน้อง ๆ ม.4 ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เข้าใจการเคลื่อนไหวของวัตถุและการทำงานของเครื่องจักรกลแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ทำข้อสอบเพื่อให้ได้คะแนนดี ๆ ในการสอบกลางภาค ที่สำคัญยังเป็นหนึ่งในเนื้อหาที่มักออกสอบ และอยู่ในคอร์สฟิสิกส์ ม.4 ที่ใช้ในการสอบเข้าในระดับมหาวิทยาลัยด้วย
บทความนี้เลยจะขอมาสรุปเนื้อหาพื้นฐานเรื่องงานและพลังงานที่น้อง ๆ ม.4 ทุกคนควรรู้ ไปดูกันว่าพลังงานจลน์และพลังงานศักย์คืออะไร และมีสูตรคำนวณใดบ้างที่ต้องทำความเข้าใจ
Table of Content:
- งาน (Work) คืออะไร ? พร้อมสูตรคำนวณ
- กำลัง (Power) คืออะไร ? พร้อมสูตรคำนวณ
- พลังงาน (Energy) คืออะไร ? พร้อมสูตรคำนวณ
- พลังงานกล (Mechanical Energy) คืออะไร ?
งาน (Work) คืออะไร ? พร้อมสูตรคำนวณ
งาน หมายถึง การที่แรงมากระทำกับวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับแรงที่กระทำ หากไม่เกิดการเคลื่อนที่จะไม่เกิดงาน
- สูตรคำนวณงาน : W = FS, W = FScosθ หรือ W = -FS โดยที่
- W = งานที่เกิดขึ้น มีหน่วยเป็น จูล (J) หรือ นิวตัน-เมตร (N.m)
- F = แรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้น มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)
- S = การกระจัดหรือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ มีหน่วยเป็นเมตร (m)
- θ = มุมระหว่างแรงกับการกระจัด
- การคำนวณหางาน มี 3 กรณี
- ตรงตามนิยามของงาน ใช้สูตร W = FS
- เนื่องจากแรง F ไม่มีทิศตามการเคลื่อนที่ จึงต้องใช้การแตกแรงช่วย
- แรงที่มีทิศเดียวกับการเคลื่อนที่คือ Fcosθ
- จึงได้สูตร W = FScosθ
- เนื่องจากแรงมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ จะใช้สูตร W = FS ไม่ได้
- จากกรณีที่ 2 มีสูตร W = FScosθ และทิศตรงข้ามกันทำมุม 180°
- นำไปใส่สูตร W = FScos180° จะได้ W = -FS
กำลัง (Power) คืออะไร ? พร้อมสูตรคำนวณ
กำลัง (Power) คือ อัตราของงานที่ทำได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยกำลังเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการทำงานของทั้งเครื่องยนต์ มนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
- สูตรคำนวณกำลัง : P = W/t โดยที่
- P = กำลัง มีหน่วยเป็นวัตต์ (W)
- W = งานที่ทำได้ มีหน่วยเป็นนิวตันเมตร หรือ จูล (J)
- t = ระยะเวลาของการทำงาน มีหน่วยเป็นวินาที (s)
พลังงาน (Energy) คืออะไร ? พร้อมสูตรคำนวณ
พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงานของสิ่งมีชีวิต วัตถุ หรือสสารต่าง ๆ เช่น การหายใจ การเคลื่อนที่ หรือการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร เป็นปริมาณพื้นฐานของระบบที่ไม่มีวันสูญสลาย แต่สามารถเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ตาม "กฎการอนุรักษ์พลังงาน" (Law of Conservation of Energy) แบ่งออกเป็นพลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานจากการแผ่รังสี พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานกล
โดยในบทความนี้ จะเน้นไปที่พลังงานกล เนื่องจากอยู่ในบทเรียนวิชาฟิสิกส์ของน้อง ๆ
พลังงานกล (Mechanical Energy) คืออะไร ?
พลังงานกล คือ พลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่โดยตรง แบ่งเป็น
1. พลังงานศักย์ (Potential Energy: Ep) คือพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุหรือสสารที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- พลังงานศักย์โน้มถ่วง
- Ep = พลังงานศักย์โน้มถ่วง มีหน่วยเป็นจูล (J)
- m = มวล มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)
- g = ความเร่งโน้มถ่วงโลก ≈ 9.8 m/s^2
- h = ระยะความสูง มีหน่วยเป็นเมตร (m)
- สูตรคำนวณพลังงานศักย์โน้มถ่วง : Ep = m × g × h โดยที่
- พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
2. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy: Ek) คือพลังงานที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ
- สูตรคำนวณพลังงานจลน์ : Ek = 1/2 × m × v^2 โดยที่
- Ek = พลังงานจลน์ มีหน่วยเป็นจูล (J)
- m = มวล มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)
- v = ความเร็ว มีหน่วยเป็นเมตร/วินาที (m/s)
กฎการอนุรักษ์พลังงานคืออะไร ? พร้อมสูตรคำนวณ
กฎการอนุรักษ์พลังงาน (Law of Conservation of Energy) คือ หลักการที่กล่าวว่าพลังงานไม่สามารถถูกสร้างขึ้นใหม่หรือทำลายให้สูญหายไปได้ แต่สามารถเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งได้ โดยพลังงานรวมของระบบที่ปิดจะคงที่เสมอ
- สูตรคำนวณกฎการอนุรักษ์พลังงาน :
ตัวอย่างข้อสอบเรื่องงานและพลังงาน
1. ชายคนหนึ่งออกแรง 750 นิวตัน ไต่บันไดสูง 5 เมตรในเวลา 25 วินาที จงหางานที่เป็นจูลที่ชายคนนี้ใช้แรงต้านแรงดึงดูดของโลกและจงหากำลังของชายคนนี้เป็นวัตต์วิธีคิด :
คำตอบ : 3750 จูล, 150 วัตต์
2. ออกแรง 40 นิวตัน ลากกล่องมวล 10 กิโลกรัม ทำมุม 60 องศากับแนวระดับ กล่องเคลื่อนที่ไปได้ไกล 5 เมตร งานที่ทำมีค่ากี่จูล
วิธีคิด :
คำตอบ : 100 จูล
วิธีคิด :
คำตอบ : 1.2 x 104 หรือ 12,000 จูล
วิธีคิด :
คำตอบ : 100 จูล
5. ในการโยนลูกเหล็กมวล 4 กิโลกรัม เมื่อลูกเหล็กหลุดจากมือจะมีพลังงานจลน์ 200 จูล ถ้าโยนขึ้นตรง ๆ ลูกเหล็กจะสูงเท่าไร
วิธีคิด :
คำตอบ : 5 เมตร