สรุปฟิสิกส์ ม.4 เรื่องสมดุลกล พร้อมสูตรและตัวอย่างข้อสอบ !
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเรียนเนื้อหาเรื่อง "สมดุลกล" หรือสนใจอยากจะติวฟิสิกส์ ม.4 เพื่อปูพื้นฐานเอาไว้ก่อน บทความนี้ได้สรุปเนื้อหาเรื่องสมดุลกลเอาไว้ให้แล้ว พร้อมตัวอย่างโจทย์ให้น้อง ๆ ได้ไปฝึกทำกัน ไปติดตามกันได้เลย !
Table of Contents:
- สมดุลกลคืออะไร ?
- ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงคืออะไร ?
- สมดุลกลแบ่งเป็นลักษณะใดบ้าง ? พร้อมสูตรคำนวณ
- สมดุลต่อการเคลื่อนที่
- สมดุลต่อการหมุน
- สมดุลสัมบูรณ์
- เจาะลึกสมดุลต่อการเคลื่อนที่
- กรณีมีแรง 2 แรงกระทำ
- กรณีมีแรง 3 แรงกระทำ
- กรณีมีมากกว่า 3 แรงกระทำ
- ขั้นตอนการแก้โจทย์สมดุลกล เรื่องสมดุลต่อการเคลื่อนที่
- โจทย์สมดุลกล ตัวอย่างข้อสอบสำหรับน้อง ๆ ม.4
สมดุลกลคืออะไร ?
สมดุลกลหรือสมดุล (equilibrium) คือสภาวะที่วัตถุรักษาสภาพการเคลื่อนที่ให้คงที่ ไม่ว่าจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ สมดุลกลจะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุนั้นไม่มีแรงภายนอกกระทำ หรือผลรวมของแรงภายนอกทั้งหมดเป็นศูนย์ (ΣF = 0)
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- สมดุลสถิต (static equilibrium) หมายถึงสภาวะที่วัตถุอยู่นิ่งและไม่มีการหมุน เช่น สมุดวางอยู่บนโต๊ะ
- สมดุลจลน์ (dynamic equilibrium) หมายถึงสภาวะที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ หรือหมุนรอบแกนด้วยอัตราเร็วคงที่ เช่น ลังไถลลงมาตามพื้นเอียงด้วยความเร็วคงที่
ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วงคืออะไร ?
- ศูนย์กลางมวล (Center of Mass หรือ C.M.) คือจุดที่ถือได้ว่า เป็นจุดรวมมวลของวัตถุทั้งหมด ซึ่งจุดนี้จะอยู่ประจำที่และไม่ขึ้นกับสถานที่ โดยอาจอยู่ภายในหรือภายนอกเนื้อวัตถุก็ได้ เช่น ศูนย์กลางมวลของวงแหวนจะอยู่นอกวงแหวน
- ศูนย์ถ่วง (Center of Gravity หรือ C.G.) หมายถึงจุดที่แรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อวัตถุนั้น ซึ่งถือเป็นจุดเสมือนที่รวมน้ำหนักของวัตถุทั้งหมด
สำหรับวัตถุที่อยู่ในบริเวณที่สนามโน้มถ่วงมีค่าสม่ำเสมอ จุดศูนย์ถ่วงและศูนย์กลางมวลจะตรงกัน อย่างไรก็ตาม หากสนามโน้มถ่วงไม่สม่ำเสมอ ตำแหน่งของศูนย์ถ่วงและศูนย์กลางมวลอาจแตกต่างกันได้
สมดุลกลแบ่งเป็นลักษณะใดบ้าง ? พร้อมสูตรคำนวณ
สมดุลกลแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. สมดุลต่อการเคลื่อนที่ (Translation Equilibrium) หมายถึงสภาวะที่วัตถุอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ เงื่อนไขคือ ผลรวมของแรงทั้งหมดที่กระทำต่อวัตถุต้องมีค่าเท่ากับศูนย์
สูตรคำนวณ : ΣF = 0
สูตรคำนวณ : ΣF = 0 และ ΣM = 0 โดยที่
F คือ แรง หน่วยเป็น N
M คือ โมเมนต์ หน่วยเป็น N•m
เจาะลึกสมดุลต่อการเคลื่อนที่ (ΣF=0)
สมดุลต่อการเคลื่อนที่ สามารถแบ่งกรณีได้ดังนี้
1. กรณีมีแรง 2 แรงกระทำ : แรงทั้งสองต้องมีขนาดเท่ากัน ทิศทางตรงกันข้าม และอยู่บนแนวเส้นตรงเดียวกันผ่านศูนย์กลางมวลของวัตถุ
2. กรณีมีแรง 3 แรงกระทำ
- หากแนวแรงทั้ง 3 อยู่ในแนวเดียวกัน ผลรวมของขนาดแรงที่มีทิศตรงกันข้ามต้องมีค่าเท่ากัน
- หากแนวแรงอยู่ในระนาบเดียวกันแต่ไม่ขนาน สภาพสมดุลจะเกิดขึ้นเมื่อ
- แรงทั้ง 3 อยู่บนระนาบเดียวกัน
- แนวแรงทั้ง 3 ต้องตัดกันที่จุดเดียวกัน
- ผลรวมของแรงทั้ง 3 เป็นศูนย์
- ผลรวมของโมเมนต์ของแรงทั้ง 3 เป็นศูนย์
สรุปคือ เพื่อให้วัตถุมีสมดุลต่อการเคลื่อนที่ ผลรวมของแรงภายนอกทุกแรงที่กระทำต่อวัตถุต้องหักล้างกันจนเหลือเป็นศูนย์ และกรณีที่มีมากกว่า 2 แรง โมเมนต์รวมต้องเป็นศูนย์ด้วย
ขั้นตอนการแก้โจทย์สมดุลกล เรื่องสมดุลต่อการเคลื่อนที่
1. วาดรูปสถานการณ์และแสดงแรงทั้งหมดที่กระทำต่อวัตถุ2. แตกแรงแต่ละแรงออกเป็นองค์ประกอบในแนวแกนอ้างอิง ซึ่งอาจเป็นแกน x และ y หากเป็นระนาบ หรือเป็นแกนตามลักษณะของวัตถุหากเป็นกรณีอื่น
- แกน x หมายถึงองค์ประกอบแรงในแนวซ้าย-ขวา
- แกน y หมายถึงองค์ประกอบแรงในแนวขึ้น-ลง
4. คำนวณหาปริมาณที่โจทย์ถามโดยใช้เงื่อนไขที่ว่า ΣF = 0
สรุปคือ ต้องวิเคราะห์แรงทั้งหมดแยกเป็นองค์ประกอบในแนวแกนอ้างอิง จากนั้นรวมแรงในแต่ละแนวให้ได้ผลลัพธ์เป็นศูนย์ แล้วจึงคำนวณหาสิ่งที่โจทย์ต้องการต่อไป
โจทย์สมดุลกล ตัวอย่างข้อสอบสำหรับน้อง ๆ ม.4
1. มีดควั่นอ้อยอันหนึ่ง มีด้ามจับห่างจากจุดหมุน 32 เซนติเมตร ตำแหน่งที่วางอ้อยห่างจากจุดหมุน 8 เซนติเมตร ถ้าต้องการตัดอ้อยแต่ละท่อนต้องใช้แรงตัด 20 นิวตัน จงหาว่าจะต้องออกแรงกดที่ปลายมีดเท่าไร จึงทำให้อ้อยขาดพอดี (ไม่คิดน้ำหนักของตัวมีดและความเสียดทาน)วิธีคิด :
คำตอบ : 5 นิวตัน (N)
2. รถคันหนึ่งมีมวล 2,400 กิโลกรัม มีศูนย์กลางมวลของรถอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างล้อหลังกับล้อหน้า ซึ่งห่างกัน 2.0 เมตร ถ้ารถพยายามยกวัตถุที่อยู่ห่างจากตัวรถไปทางด้านหน้า 10 เมตร มวลมากที่สุดที่รถสามารถยกได้เป็นกี่กิโลกรัม (ENT 41)
วิธีคิด :
คำตอบ : 240 กิโลกรัม (kg)