เรียนวิศวะสาขาไหนดี ? คู่มือเลือกสาขาสำหรับน้อง ม.ปลาย | Applied Physics
นักเรียนที่ต้องการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ที่สาขาพญาไทสามารถ Walk in เข้ามาเรียนโดยไม่ต้องจองเวลาเรียน
  กลับสู่หน้าบทความ

เรียนวิศวะสาขาไหนดีที่จะนำไปสู่โอกาสได้งานที่มั่นคง

 11 พฤศจิกายน 2567 16:19:18

สำหรับน้อง ๆ ม.ปลายที่มีความฝันอยากเป็นวิศวกร คำถามที่วนเวียนอยู่ในหัวคงหนีไม่พ้นว่าควรเลือกเรียนวิศวะสาขาไหนดี ? แต่นอกจากสาขาที่เหมาะกับเราแล้ว การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเส้นทางนี้อย่างการเรียนเสริมกับคอร์สติวสอบ TPAT3 ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะจะช่วยให้น้อง ๆ ไปถึงเป้าหมายการเข้าเรียนในสาขาที่ตนเองสนใจได้ 


สำหรับการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาวิชาที่เปิดโอกาสให้เราได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ทั้งยังมีโอกาสได้นำความรู้ไปพัฒนาด้านเทคโนโลยี และแก้ไขปัญหาซับซ้อนของโลก แต่ในการเรียนวิศว
กรรมไม่ได้มีแค่เพียงสาขาเดียว การเลือกสาขาที่ใช่จึงเป็นก้าวแรกสำคัญ ที่จะช่วยต่อยอดทั้งในด้านการเรียนและการทำงานในอนาคตของน้อง ๆ ให้ประสบความสำเร็จได้

นักเรียนวิศวะสาขาวิศวกรรมเครื่องกล

เรียนวิศวะอะไรดีไม่ตกงาน ?

เนื่องจากคณะวิศวกรรมศาสตร์มีหลายสาขาให้เลือก ซึ่งในแต่ละสาขาก็มีจุดเด่นและเส้นทางอาชีพที่หลากหลาย มาดูกันว่าวิศวะสาขาไหนดีที่จะนำไปสู่โอกาสงานที่มั่นคง รวมถึงวิศวะสาขาไหนเรียนง่ายสุดหรือเรียนยากสุด เพื่อเป็นข้อมูลให้น้อง ๆ ได้ตัดสินใจเลือกสาขาได้ง่ายขึ้น

 

สาขาต่าง ๆ ในการเรียนด้านวิศวกรรม

1. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)


สาขานี้เน้นการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องกล ไม่ว่าจะเป็นยานพาหนะ เครื่องจักรในโรงงาน ไปจนถึงระบบเครื่องกลต่าง ๆ เป็นสาขาที่มีความต้องการสูงในอุตสาหกรรมการผลิต น้อง ๆ ที่ชอบการเรียนรู้ด้านฟิสิกส์ การวิเคราะห์แรงและการเคลื่อนไหว จะเหมาะกับสาขานี้ 


ความง่าย-ยาก
: ต้องใช้การวิเคราะห์ในเชิงเทคนิคมากพิเศษ หากมีความสนใจจะทำให้น้อง ๆ สนุกและพัฒนาทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ได้ดี

 

2. วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)


สาขานี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจการสร้างและออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร ถนน และสะพาน โดยวิศวกรโยธามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างเมืองให้แข็งแรงและปลอดภัย โอกาสงานมั่นคง เนื่องจากความต้องในตลาดแรงงานด้านนี้ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ


ความง่าย-ยาก
: เนื้อหาเน้นการคำนวณและการวิเคราะห์โครงสร้าง ต้องใช้ความรอบคอบและความแม่นยำ

 

3. วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)


สาขานี้ครอบคลุมการพัฒนาระบบไฟฟ้า ทั้งในอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสาขาที่มีความหลากหลายอย่างมาก ทั้งยังมีการเติบโตสูงในยุคดิจิทัล สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจการเรียนรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าจะเหมาะกับสาขานี้ 


ความง่าย-ยาก
: สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเรียนค่อนข้างยาก เพราะต้องเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ แต่โอกาสการทำงานในอนาคตมีความมั่นคงสูง

4. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)


น้อง ๆ ที่ชอบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สาขานี้อาจเป็นหนึ่งในสาขาที่น้อง ๆ จะเรียนได้อย่างสนุก เนื่องจากเป็นสาขาที่เน้นการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความต้องการงานสูงในตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยเนื้อหาในการเรียนจะเน้นไปที่การเขียนโปรแกรมและการทำงานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์


ความง่าย-ยาก
: สาขานี้ต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์เป็นหลัก ในปัจจุบัน เป็นสาขาที่มีการจ้างงานสูงและเหมาะกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว

 

5. วิศวกรรมกระบวนการเคมี (Chemical Engineering)


วิศวกรรมกระบวนการเคมีเป็นสาขาที่เน้นการแปรรูปวัตถุดิบทางเคมีให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ เช่น พลังงาน อาหาร และเคมีภัณฑ์ เหมาะกับน้อง ๆ ที่สนใจด้านเคมีและกระบวนการทางอุตสาหกรรม


ความง่าย-ยาก
: การเรียนสาขานี้จะต้องใช้ทฤษฎีเคมีและฟิสิกส์ที่เข้มข้น แต่โอกาสมีงานทำในอนาคตมีสูง 

 

6. วิศวกรรมการบิน (Aerospace Engineering)


วิศวกรรมการบินเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนายานอวกาศ อากาศยาน รวมถึงการวิเคราะห์ความปลอดภัยในระบบการบิน เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจความรู้ในด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ในระดับสูง และหลงใหลในเทคโนโลยีการบินและอวกาศ


ความง่าย-ยาก
: หนึ่งในสาขาที่เรียนยากที่สุดในวิศวกรรมศาสตร์ เพราะมีทฤษฎีที่ซับซ้อน แต่โอกาสได้งานเมื่อจบไป ก็มีมูลค่าสูงตามไปด้วยเช่นกัน

 

7. วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ (Logistics Engineering)


สาขานี้เน้นการจัดการกระบวนการขนส่งสินค้าและการจัดเก็บสต๊อกให้มีประสิทธิภาพ เหมาะกับน้อง ๆ ที่สนใจในด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยเนื้อหาของการเรียนการสอนในสาขานี้ จะเน้นไปที่การจัดการข้อมูล การวางแผน และการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการขนส่ง 


ความง่าย-ยาก
: จำเป็นต้องมีทักษะการวางแผนและการคิดวิเคราะห์ ซึ่งในสายงานนี้มีความต้องการสูงในธุรกิจการค้าและอีคอมเมิร์ซ ทำให้มีโอกาสการจ้างงานที่ดีในอนาคต

 

การเลือกสาขาวิศวกรรมศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อเส้นทางอาชีพในอนาคต น้อง ๆ ควรพิจารณาจากความสนใจ รวมถึงทักษะของตนเอง เพื่อตัดสินใจเลือกสาขาเรียนที่ใช่และเหมาะกับเราที่สุด และถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากปูพื้นฐานด้านวิศวกรรมให้แน่น เพื่อการสอบเข้าในมหาวิทยาลัยที่ตนเองตั้งใจ คอร์สติวสอบ TPAT3 เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ที่รวบรวมทั้งแนวข้อสอบและเทคนิคการจำสูตรที่นำไปใช้ได้จริง แถมยังเรียนสนุก เข้าใจได้ง่าย สามารถสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอร์สเรียนได้ที่ Applied Physics โทร 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869 และ 085-4925599 หรือแอดไลน์ @appliedphysics (มี @ ด้วย)



 

loading
loading
เพิ่มในตะกร้าแล้ว
×
ชื่อคอร์ส
ราคา บาท
Line OA @appliedphysics