ใกล้สอบเข้า ม.4 วิทย์-คณิต แต่ยังทำฟิสิกส์ไม่ได้ ทำอย่างไรดี? | Applied Physics
นักเรียนที่ต้องการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ที่สาขาพญาไทสามารถ Walk in เข้ามาเรียนโดยไม่ต้องจองเวลาเรียน
  กลับสู่หน้าบทความ

4 เทคนิคอ่านฟิสิกส์เตรียมสอบเข้า ม.4 ให้เข้าใจ ไม่ต้องท่องจำ

 18 กรกฎาคม 2566 15:18:34

สนามสอบเข้า ม.4 วิทย์-คณิตโรงเรียนดังใกล้เข้ามาทุกที นอกจากจะดูแลสุขภาพให้แข็งแรงแล้ว การหมั่นทบทวนและเตรียมความพร้อมในวิชาสอบเองก็เป็นเรื่องสำคัญ

อย่างไรก็ดี แม้จะเตรียมตัววิชาอื่นจนพร้อมหมดแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเตรียมความพร้อมในวิชาฟิสิกส์นั้นกลับเป็นเรื่องที่แสนยากสำหรับน้อง ๆ หลายคน เนื่องจากต้องทำความเข้าใจหลักการทางฟิสิกส์ไปพร้อมกับหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มิหนำซ้ำยังต้องจำสูตรคำนวณมากมายอีกด้วย

หากใครรู้ตัวว่า จนแล้วจนรอดก็ยังทำฟิสิกส์ไม่ได้สักที แถมตอนนี้อ่านฟิสิกส์เตรียมสอบเข้าม.4 เองก็ยังไม่รู้เรื่องอีก วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับ 4 เทคนิคการเรียนสไตล์ Applied Physics ที่ช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจวิชาฟิสิกส์ได้มากขึ้น ไม่ต้องท่องจำก็ทำข้อสอบได้กัน!

 

อ่านฟิสิกส์เตรียมสอบเข้า ม.4 ไม่เข้าใจ ทำอย่างไรดี?

1. หยุดท่องสูตร! เข้าใจที่มาที่ถูกต้องก่อน

เมื่อพูดถึงวิชาเรียนที่น้อง ๆ แค่ได้ยินชื่อก็ถึงกับส่ายหน้า มั่นใจได้ว่า หนึ่งในนั้นย่อมมี ‘วิชาฟิสิกส์’ รวมอยู่ด้วยอย่างแน่นอน เพราะไหนจะสูตรคำนวณ หลักการทางฟิสิกส์ ไปจนถึงความเข้าใจทางคณิตศาสตร์อีก แค่ได้ลองอ่านตัวอย่างเนื้อหาแต่ละบทก็รู้สึกได้ถึงความยากขึ้นมาทันที

อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นวิชาที่มีรายละเอียดซับซ้อน แต่หากตั้งหลักให้ถูกต้อง การเรียนฟิสิกส์ให้เข้าใจก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ดังนั้น แทนที่จะท่องจำสูตรแต่ละบทจนขึ้นใจ แต่สุดท้ายกลับพบว่าใช้งานสูตรไม่เป็น ขอแนะนำให้ลองเริ่มต้นจากการ ‘เปิดใจ’ และ ‘เข้าใจ’ เหตุผลในการเรียนฟิสิกส์ที่นอกเหนือจากการเรียนเพื่อไปสอบดู

โดย ‘ฟิสิกส์’ เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่อธิบายถึง ‘ธรรมชาติ’ และ ‘หลักการทำงาน’ ของสสารและสิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหมด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่อธิบายสิ่งต่าง ๆ รอบตัวในชีวิตประจำวันได้

เช่น การอธิบายถึงหลักในการเคลื่อนที่ของวัตถุ รถยนต์ ตลอดจนพลังที่ต้องใช้ในการเคลื่อนย้ายหรือหยิบของภายในบ้าน ไปจนถึงหลักในการสร้างบ้านให้แข็งแรง หรือแม้แต่โต๊ะและเก้าอี้ที่น้อง ๆ กำลังนั่งเรียนหนังสืออยู่นี้ก็มีการออกแบบให้รับน้ำหนักและตอบโจทย์การใช้งาน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในหลักของฟิสิกส์เช่นกัน จะเห็นได้ว่า ฟิสิกส์นั้นเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในทุกด้าน อีกทั้งยังมีความเชื่อมโยงกันในแทบจะทุกมิติ เช่น การออกแบบโต๊ะจำเป็นต้องเข้าใจทั้งเรื่องแรง โครงสร้างสสาร มวล น้ำหนักและการเคลื่อนที่ และสมดุลกล เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อเห็นภาพถึงฟิสิกส์ที่อยู่รอบตัวแล้ว ทีนี้น้อง ๆ ก็จะสามารถตอบตัวเองได้ว่า ‘เรียนฟิสิกส์ไปทำไม’ ‘ทำไมต้องเข้าใจฟิสิกส์’ นอกจากนี้ ความเข้าใจในจุดนี้ยังสามารถช่วยให้มองเห็นภาพฟิสิกส์ได้กว้างขึ้น ทำให้เริ่มต้นจับจุดจากพื้นฐานของฟิสิกส์และเชื่อมโยงไปถึงเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อ่านฟิสิกส์เตรียมสอบเข้า ม.4 ได้อย่างเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

2. ฝึกทำโจทย์เพื่อตีความปัญหา ไม่ใช่หาช่องทางใช้สูตร

เมื่อทำความเข้าใจถึงเหตุผลในการเรียนฟิสิกส์และที่มาตามหลักธรรมชาติของเนื้อหาแต่ละบทแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาในการฝึกการแก้โจทย์ที่ถูกต้องและเหมาะสมกัน

อย่างไรก็ดี แทนที่จะมองหาตัวเลขและกำหนดตัวแปรเพื่อใส่สูตรสำเร็จ ขอแนะนำให้น้อง ๆ เริ่มต้นจากการตีความปัญหาที่ต้องการแก้ไขในโจทย์ข้อนี้ดูก่อน

หากยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ลองลิสต์สถานการณ์ หรือรายละเอียดที่โจทย์ให้มาคร่าว ๆ ดังนี้

  • คำถามของโจทย์ เช่น ต้องการหาค่าตัวไหน เรื่องใดเป็นปัญหาภายในโจทย์
  • เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในโจทย์ เช่น เรื่องแรง สมดุลกล ไฟฟ้า หรือการเคลื่อนที่
  • รายละเอียดที่โจทย์มีมาให้ เช่น ขนาดของแรง กำลังไฟฟ้า หรือความต้านทานไฟฟ้าในแต่ละจุด
  • ข้อจำกัดของโจทย์ หรือสิ่งที่ไม่ได้มีมาให้ เช่น โจทย์ข้อนี้ต้องทราบถึงกำลังไฟฟ้าถึงจะหาคำตอบได้ แต่โจทย์ไม่ได้ให้กำลังไฟฟ้ามา ดังนั้น จึงต้องหากำลังไฟฟ้าก่อนถึงจะไปต่อได้
  • เครื่องมือสำหรับการแก้โจทย์ เช่น สูตรที่ต้องใช้ในโจทย์ และตัวแปรที่ต้องแทนค่า

การฝึกทำโจทย์เป็นประจำนี้ นอกจากจะช่วยเสริมความรู้และความเข้าใจให้เนื้อหาแล้ว ยังสามารถช่วยลดความตื่นเต้นและประหม่าในห้องสอบได้อีกด้วย โดยในระหว่างทำโจทย์ อย่าลืมจับเวลาเพื่อเป็นการจำลองสถานการณ์การสอบจริงด้วย

เรียนฟิสิกส์สำหรับสอบเข้า ม.4 ที่ไหนดี

3. เข้าใจฟิสิกส์แล้ว เข้าใจคณิตศาสตร์ด้วย

รู้หรือไม่? การสอบเข้า ม.4 วิทย์-คณิตที่ได้คะแนนฟิสิกส์น้อยกัน ไม่ได้เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจในวิชาฟิสิกส์ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการแทนค่าและการคำนวณที่ผิดพลาด ซึ่งบางครั้งผิดพลาดกันแค่เรื่องของการบวกเลขตำแหน่งเดียวเท่านั้น

อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นความผิดพลาดที่เล็กน้อยตอนฝึกโจทย์ แต่การคำนวณผิดนิดหน่อยในห้องสอบจริงอาจทำให้น้อง ๆ ต้องเสียที่นั่งในโรงเรียนในฝันก็เป็นได้ ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการสอบเข้า ม.4 วิทย์-คณิตกับโรงเรียนในฝันให้ได้มากที่สุด เมื่อทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาฟิสิกส์อย่างรอบด้านแล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญกับวิชาคณิตศาสตร์ด้วย

เช่น การกลับมาตรวจทานคำตอบและกระบวนการคำนวณ ไปจนถึงการเลือกแทนค่าและใช้สูตรในแต่ละส่วนของโจทย์อีกครั้งก่อนจะส่งข้อสอบให้แก่กรรมการคุมสอบ เท่านี้ก็ถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงที่จะเสียคะแนนวิชาฟิสิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว

4. เช็กจุดอ่อน! บทไหนไม่เข้าใจ รีบเสริมด่วน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น วิชาฟิสิกส์เป็นศาสตร์ที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ข้อสอบฟิสิกส์สอบเข้า ม.4 เองก็มักออกโจทย์ที่มีความเชื่อมโยงกัน ด้วยเหตุนี้ น้อง ๆ จึงควรมีความเข้าใจความรู้ของฟิสิกส์อย่างรอบด้านและถูกต้องทุกบท ดังนั้น หากยังไม่เข้าใจบทไหน หรือหากลองทำโจทย์ดูแล้วกลับพบว่า ตัวเองยังขาดความรู้และความเข้าใจในบทเรียนนี้ อย่าลืมหาเวลาไปเสริมความรู้และความเข้าใจโดยด่วน

น้อง ๆ สามารถอัปความเข้าใจในส่วนนี้ได้ง่าย ๆ ตั้งแต่การขอให้เพื่อนช่วยติว การลิสต์บทเรียนที่ไม่เข้าใจและลองอ่านหนังสือด้วยตัวเอง ไปจนถึงการลงคอร์สเรียนฟิสิกส์สอบเข้า ม.4 เพื่อช่วยให้อาจารย์ หรือติวเตอร์ช่วยชี้นำและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งอาจเลือกลงเรียนเฉพาะบทที่ไม่เข้าใจ หรือเรียนครบทั้งหมดทุกบท เพื่อเป็นการทบทวนและเพิ่มความมั่นใจในการทำข้อสอบ

จะเห็นได้ว่า การเตรียมตัวสอบเข้า ม.4 วิทย์-คณิต วิชาฟิสิกส์นั้นไม่ใช่เรื่องยาก ทั้งยังสามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากการปรับเปลี่ยนความคิดของตนเอง เพื่อเปิดใจและเริ่มสร้างความเข้าใจให้กับวิชาฟิสิกส์มากขึ้น

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังมองหาตัวช่วยเตรียมตัววิชาฟิสิกส์สอบเข้า ม.4 โรงเรียนกวดวิชาฟิสิกส์ อันดับ 1 ของประเทศไทย Applied Physics พร้อมช่วยน้องติวฟิสิกส์สอบเข้า ม.4 แบบเน้นการสร้างพื้นฐานความเข้าใจ เปลี่ยนฟิสิกส์แสนยากให้เข้าใจง่ายมากขึ้น พร้อมเก็บคะแนนฟิสิกส์สูงขึ้นจากความเข้าใจที่ถูกต้อง สอบถามเพิ่มเติมโทร 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869 และ 085-4925599
loading
loading
เพิ่มในตะกร้าแล้ว
×
ชื่อคอร์ส
ราคา บาท
Line OA @appliedphysics