จบคณะวิทยาศาสตร์ทำงานอะไรดี? รู้จักอาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ | Applied Physics
  กลับสู่หน้าบทความ

รู้ก่อนเข้าคณะวิทย์! อาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง?

 19 สิงหาคม 2567 15:30:24

ใครที่อยากเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ ยกมือขึ้น! สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่มีคณะวิทยาศาสตร์เป็นคณะในฝัน แต่ยังไม่ชัวร์ว่าถ้าเรียนไปแล้ว จบไปจะทำงานอะไรดี หรือจะหางานยากหรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว ว่าอาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง พร้อมคะแนนสอบที่ต้องใช้ในการศึกษาต่อในคณะนี้ แต่จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามกันได้เลย  


รู้ก่อนเข้าคณะวิทย์! อาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง?

1. คณะวิทยาศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร?

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะในใจของน้อง ๆ ที่เรียนสายวิทย์ โดยเฉพาะคนที่ชอบเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะแบบจัดเต็ม แต่หากจะเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ หลาย ๆ คนคงอยากจะรู้ก่อนว่าคณะวิทยาศาสตร์นั้นเรียนเกี่ยวกับอะไร และมีสาขาวิชาใดให้เลือกเรียนบ้าง 


คณะวิทยาศาสตร์ เป็นคณะที่มีการเปิดสอนเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในเชิงลึก โดยเนื้อหาจะครอบคลุมเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเราตั้งแต่เรื่องที่เล็กที่สุด ไปจนถึงใหญ่ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ ลักษณะ คุณสมบัติ ไปจนถึง ความสัมพันธ์ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการเรียนในคณะวิทยาศาสตร์จะครอบคลุมเกี่ยวกับ 4 เรื่องหลักคือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และแคลคูลัส


สิ่งที่จะได้เรียนในแต่ละปี

หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์จะมีการเรียนการสอนทั้งหมด 4 ปี โดยในแต่ละปีจะได้เรียนเนื้อหาดังนี้


ปี 1 : ในปีการศึกษาที่ 1 นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์จะได้เรียนพื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะแคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ นอกจากนั้น ก็ยังมีวิชาบังคับที่นักศึกษาทุกคณะต้องเรียนด้วยเช่นกัน ทั้งวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และจิตวิทยา 


ปี 2 และ 3 : โดยส่วนมากแล้วในปีที่ 2 จะเป็นปีที่น้อง ๆ ในคณะวิทยาศาสตร์จะได้เข้าเรียนวิชาประจำเอกหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เลือก ซึ่งเนื้อหาจะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เป็นเนื้อหาเชิงลึก และการนำไปใช้


ปี 4 : ในปีการศึกษาสุดท้าย โดยส่วนมากแล้วจะเป็นปีที่น้อง ๆ นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนในปี 1 - 3 ไปใช้จริงในการฝึกงานตามหน่วยงาน สถาบัน หรือบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามวิชาเอก หรือสาขาวิชาที่เลือก


อย่างไรก็ตาม หลักสูตร และการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์ในแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีความแตกต่างกันไป หากน้อง ๆ คนไหนสนใจอยากจะเรียนในมหาลัยใด ก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหลักสูตรในแต่ละคณะผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ก่อนได้เลย เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ และเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสำหรับการเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์ที่ตามที่ตั้งใจด้วย 


2. เรียนจบแล้วไปทำอะไรได้บ้าง?

สำหรับน้อง ๆ ที่อยากรู้เรียนจบคณะวิทยาศาสตร์แล้วจะทำงานอะไรได้บ้าง วันนี้เราลิสต์อาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาให้แล้ว


อาชีพสำหรับสาขาวิชาฟิสิกส์

  • นักฟิสิกส์รังสี ฟิสิกส์ธรณี ฟิสิกส์
  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทางรังสีวิทยา
  • นักฟิสิกส์การแพทย์ 
  • นักนิติวิทยาศาสตร์
  • นักอุตุนิยมวิทยา

นักวิทยาศาสตร์ด้านเคมี


อาชีพสำหรับสาขาวิชาเคมี

  • นักวิทยาศาสตร์ด้านเคมี, อาหาร, เครื่องสำอาง
  • นักพัฒนาสินค้า และผลิตภัณฑ์
  • พนักงานในห้องปฏิบัติการ

อาชีพสำหรับสาขาวิชาชีววิทยา

  • นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษในภาคอุตสาหกรรม
  • ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

อาชีพสายวิชาการ

สำหรับผู้ที่จบการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ยังสามารถนำความรู้มาใช้ในสายอาชีพด้านวิชาการได้เช่นกัน

  • นักวิชาการ
  • นักวิจัย
  • ครู หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย

3. อยากเข้าคณะวิทยาศาสตร์ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง?

แม้ว่าเกณฑ์คะแนนที่แต่ละมหาวิทยาลัยใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์จะแตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วจะมีคะแนนที่จำเป็นต้องใช้หลัก ๆ ดังนี้


  • TGAT ข้อสอบวัดสมรรถนะทั่วไป
  • TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
  • A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน และเพิ่มเติม)
  • A-Level ฟิสิกส์
  • A-Level เคมี
  • A-Level ชีววิทยา

เมื่อรู้แล้วว่าหากจบจากคณะวิทยาศาสตร์ ทั้งเอกฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แล้วจะทำงานอะไรได้บ้าง ก็อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อมุ่งสู่คณะในฝัน ด้วยคอร์สเรียนพิเศษฟิสิกส์ ม.ปลายสุดเข้มข้น ที่ Applied Physics เลือกเรียนได้ทั้งที่สาขาและออนไลน์ อัดแน่นด้วยเนื้อหาที่อัปเดตใหม่ ให้น้อง ๆ เรียนแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง! สอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869, 085-4925599 หรือ แอดไลน์ @appliedphysics (มี @ ด้วย)
loading
loading
เพิ่มในตะกร้าแล้ว
×
ชื่อคอร์ส
ราคา บาท
Line OA @appliedphysics