TCAS กับ TGAT/TPAT ต่างกันอย่างไร? ไขข้อสงสัยสำหรับ Dek68!
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแต่ละปี ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีการปรับเปลี่ยนอยู่บ้าง แต่จะมากน้อยแตกต่างกันไป จนทำให้น้อง ๆ มัธยมปลายรุ่นใหม่ ๆ เกิดความสับสนว่า ควรเตรียมตัวอ่านหนังสือติวสอบ TCAS อย่างไร หรือควรวางแผนเรียนพิเศษกับคอร์สติวแบบไหนดี ถึงจะช่วยให้สอบเข้าเรียนในคณะที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
วันนี้พี่ ๆ เลยอยากจะมาอธิบายถึงความแตกต่างของระบบการสอบให้น้อง ๆ Dek68 ได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเสียก่อน ว่าการสอบ TCAS กับ TGAT/TPAT แตกต่างกันอย่างไร และมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อนบ้าง มาหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย!
Table of Content
- TCAS กับ TGAT/TPAT แตกต่างกันอย่างไร? ทำความรู้จักระบบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับ Dek6
- การสอบ TGAT/TPAT สามารถเลือกวิธีได้ด้วยนะ!
TCAS กับ TGAT/TPAT แตกต่างกันอย่างไร? Dek68 ต้องรู้!
ระบบ TCAS กับ TGAT/TPAT เป็นระบบการสอบเข้ามหาลัยที่มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนี้
ระบบ TCAS คืออะไร?
TCAS ย่อมาจาก Thai College Admission System เป็นระบบกลางในการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2561 เน้นหลักการ 1 คน ต่อ 1 สิทธิ์ เพื่อความเสมอภาคในการคัดเลือก
สำหรับปี 2568 การสอบ TCAS แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้
- รอบ Portfolio: เน้นผลงาน กิจกรรม และความสามารถพิเศษ โดยมหาวิทยาลัยกำหนดคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือกเอง
- รอบ Quota: โควตาของแต่ละมหาวิทยาลัย กำหนดคุณสมบัติและเกณฑ์การคัดเลือก แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
- โควตาปกติ: มุ่งเน้นผลการเรียน
- โควตาความสามารถพิเศษ: มุ่งเน้นผลงาน กิจกรรม และความสามารถพิเศษ
- โควตาอื่น ๆ: ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์เอง
- รอบ Admission: คัดเลือกจากคะแนน TGAT และ TPAT ร่วมกับ GPAX และ Portfolio แบ่งออกเป็น 3 รอบย่อย
- รอบ Early Admission: มุ่งเน้นนักเรียนที่มีผลการเรียนดี
- รอบ Early Admission 2: มุ่งเน้นนักเรียนที่มีผลการเรียนดี และผลงานด้านกิจกรรม
- รอบ Normal Admission: มุ่งเน้นนักเรียนทั่วไป
- รอบ Direct Admission: รอบรับตรงอิสระ มหาวิทยาลัยกำหนดวิธีการคัดเลือกเอง ซึ่งรูปแบบการรับสมัครและเกณฑ์การคัดเลือกจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย แนะนำให้น้อง ๆ ตรวจสอบข้อมูลกับทางมหาวิทยาลัยที่สนใจโดยตรง
TGAT/TPAT คืออะไร?
TGAT/TPAT คือข้อสอบที่สร้างมาเพื่อยื่นในระบบ TCAS โดยปรับเปลี่ยนมาจากการสอบ GAT/PAT เพื่อเพิ่มความทันสมัยและลดความซ้ำซ้อนของข้อสอบ โดย TGAT และ TPAT มีรายละเอียด ดังนี้
1. TGAT
TGAT (Thai General Aptitude Test) คือการสอบวัดความถนัดทั่วไป เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสื่อสารและภาษา ซึ่ง TGAT จะถูกใช้เป็นคะแนนสอบในการสมัคร TCAS รอบ Admission และ Direct Admission แบ่งเป็น 3 พาร์ต คะแนนเต็ม 300 คะแนน ดังนี้
- พาร์ตที่ 1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication): รวมทั้งหมด 60 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- ทักษะการพูด 30 ข้อ
- ทักษะการอ่าน 30 ข้อ
- พาร์ตที่ 2: การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical and Logical Thinking): รวมทั้งหมด 80 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- ความสามารถทางภาษา (ภาษาไทย) 20 ข้อ
- ความสามารถทางตัวเลข (คณิตศาสตร์) 20 ข้อ
- ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) 20 ข้อ
- ความสามารถทางเหตุผล (ภาษาไทย + คณิตศาสตร์) 20 ข้อ
- พาร์ตที่ 3: สมรรถนะการทำงาน (Future Workforce Competencies): ข้อสอบวัดทัศนคติ มีทั้งแบบเลือก 1 คำตอบและเลือกตอบแบบหลายคำตอบ รวมทั้งหมด 60 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- Value Creation & Innovation : การสร้างคุณค่าและวัฒนธรรม 15 ข้อ
- Complex Problem Solving : การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ
- Emotional Governance : การบริการจัดการอารมณ์ 15 ข้อ
- Civic Engagement : การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม 15 ข้อ
2. TPAT
TPAT (Thai Professional Aptitude Test) คือการสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ ใช้เป็นคะแนนร่วมกับ TGAT, GPAX และ Portfolio ในการสมัคร TCAS รอบ Admission และ Direct Admission ซึ่งแต่ละคณะจะใช้คะแนน TPAT ต่างกันออกไป
- TPAT 1: วิชาเฉพาะ กสพท.
- สำหรับยื่นศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชกรรม สัตวแพทยศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
- TPAT 2: ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์
- สำหรับยื่นศึกษาต่อในคณะสายศิลปกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 3 พาร์ต
- ทัศนศิลป์
- ดนตรี
- นาฏศิลป์
- สำหรับยื่นศึกษาต่อในคณะสายศิลปกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 3 พาร์ต
- TPAT 3: ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
- การทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
- การทดสอบความคิดและความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
- สำหรับยื่นศึกษาต่อในคณะสายวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น 2 พาร์ต
- TPAT 4: ความถนัดด้านสถาปัตยกรรม
- สำหรับยื่นศึกษาต่อคณะทางสถาปัตยกรรม แบ่งเป็น 4 พาร์ต
- ความรู้ทั่วไปด้านศิลปะและการออกแบบ
- ความรู้ทั่วไปด้านทฤษฎีสีและทฤษฎีด้านความงามทางศิลปะและงานสถาปัตยกรรม
- ความรู้พื้นฐานระบบโครงสร้าง
- การรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์และรูปทรง
- สำหรับยื่นศึกษาต่อคณะทางสถาปัตยกรรม แบ่งเป็น 4 พาร์ต
- TPAT 5: ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์
- สำหรับยื่นศึกษาต่อคณะครู แบ่งเป็น 2 พาร์ต
- ความสามารถพื้นฐานทางวิชาชีพครู
- คุณลักษณะความเป็นครู
- สำหรับยื่นศึกษาต่อคณะครู แบ่งเป็น 2 พาร์ต
การสอบ TGAT/TPAT สามารถเลือกวิธีได้ด้วยนะ!
การสอบ TGAT/TPAT สามารถเลือกสอบได้ทั้งแบบกระดาษและคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้สอบจะเลือกสอบแบบไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดที่ต้องการ
1. สอบแบบกระดาษ
- ค่าสมัคร 140 บาท/วิชา
- สอบในศูนย์สอบที่กำหนด
- ใช้เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ประกาศผล 1 เดือนหลังสอบ
2. สอบแบบคอมพิวเตอร์
- ค่าสมัคร 140 บาท/วิชา
- สอบในศูนย์สอบที่กำหนด
- ใช้ระบบเดียวกับ PISA (การประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากล)
- ใช้เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ประกาศผล 3 วันหลังสอบวิชาสุดท้ายเสร็จสิ้น
- สามารถทดข้อสอบ ขีดเส้นใต้ หรือไฮไลท์ลงบนระบบข้อสอบได้
หมายเหตุ: เฉพาะข้อสอบ TPAT ในวิชาเฉพาะ กสพท. จะสามารถสอบได้เพียงรูปแบบกระดาษเท่านั้น!
ได้รู้กันไปแล้วว่า การสอบ TCAS กับ TGAT/TPAT แตกต่างกันอย่างไร ทั้งนี้ ถ้าน้อง ๆ Dek68 คนไหนอยากเตรียมความพร้อมและตะลุยข้อสอบเพื่อยื่นเข้าในคณะที่ใช่ สามารถแวะมาปรึกษาได้ที่ Applied Physics ที่นี่เรามีคอร์สติว TCAS ที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาและเทคนิคการทำข้อสอบที่จะช่วยให้น้อง ๆ ทำคะแนนได้อย่างที่หวังเอาไว้ แถมยังสามารถเลือกเรียนได้ทั้งที่สาขาและเรียนออนไลน์
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-3060867, 02-3060868, 02-3060869 และ 085-4925599 หรือ แอดไลน์ @appliedphysics (มี @ ด้วย)